ชะพลู/ ช้าพลู

ชะพลู/ ช้าพลู

Piper sarmentosum Roxb. ex Hunter


PIPERACEAE


ชื่อพื้นเมือง  ช้าพลู ผักปูนา ผักพลูนก พลูลิง นมวา ผักแค ผักปูลิง ผักนางเลิด ผักอีเลิด




ผลแห้ง  ใช้ขับเสมหะในลำคอ  โดยฝนกับมะนาวและเกลือ  ใช้รักษาบิด

ใบ  มีรสเผ็ดเล็กน้อย  เป็นยาขับลม  แก้จุกเสียด  บำรุงธาตุ  แก้ธาตุพิการ  คุมเสมหะให้ปกติ

ใบอ่อนดิบ  ใช้ห่อเป็นเมี่ยงคำ  แกงกะทิ  กินสดหรือสุกกับน้ำพริก

ใบชะพลู 100 กรัม  ให้พลังงาน 101 กิโลแคลอรี่  เส้นใย 4.6 กรัม  แคลเซียม 601 มก.  ฟอสฟอรัส 30 มก. เหล็ก 7.6 มิลลิกรัม  วิตามินเอ 21250  IU  วิตามินบีหนึ่ง 0.13 มก. วิตามินบีสอง 0.11 มก.  ไนอาซิน 3.4 มก.  วิตามินซี 10 มก.  มีปริมาณสารแคลเซียมออกซาเลตสูงถึง 691 มก.
 




สารสกัดน้ำของช้าพลูทั้งต้นมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของหนูทดลอง  ใบช้าพลูสดมีปริมาณสารออกซาเลทค่อนข้างสูง  จึงควรปรุงและกินพร้อมเนื้อสัตว์  ไม่ควรรับประทานเป็นประจำ

นิยมใช้ใบช้าพลูในของว่าง "เมี่ยงคำ"  ซึ่งเป็นจานอาหารที่น่าสนใจและมีคุณค่าสูง  ประกอบด้วยขิงมีรสเผ็ดร้อน  ช่วยย่อยอาหาร  หอมแดงแก้หวัด  พริกขับลม ถั่วลิสงมีรสมันเสริมธาตุดิน  กุ้งแห้งเป็นโปรตีน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น